Posts List

Health

  • กายภาพบำบัด มีประโยชน์ต่อการรักษาโรคได้อย่างไรบ้าง
    กายภาพบำบัด มีประโยชน์ต่อการรักษาโรคได้อย่างไรบ้าง

    กายภาพบำบัด มีหลายคนที่อาจจะเคยได้ยินคำนี้แต่ไม่รู้ว่าความหมายคืออะไร หรือคนอาจจะรู้จักว่าการทำการภาพบำบัดเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ แต่จริงๆ แล้ว การทำกายภาพบำบัดเหมาะสมกับทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุ เพราะนอกจากการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาต หรือนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บ ยังสามารถรักษาคนทั่วไปได้ด้วย ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ใช้ฟื้นฟูดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จะมาพูดถึงความหมายของกายภาพบำบัด ประเภท ประโยชน์ และขั้นตอนการทำกายภาพบำบัด

    กายภาพบำบัด

    กายภาพบำบัด คืออะไร

    กายภาพบำบัด (Physical Therapy : PT)  เป็นศาสตร์ที่ใช้ในการฟื้นฟู เป็นการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ กายภาพบำบัดจะไม่เน้นการรับประทานยา หรือผ่าตัด แต่เน้นการบัดบำฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการออกกำลังกาย หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมสำหรับอาการนั้นๆ โดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ  กายภาพบำบัดเป็นวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของร่างกายมนุษย์ที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงชีวิต ซึ่งมีหลายวิธี เช่น อัลตราซาวด์ เลเซอร์ ประคบร้อน ประคบเย็น ธาราบำบัด การนวด หรือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

    นักกายภาพบำบัดจะมีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพ เพื่อทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดตามสถานที่ต่างๆ ได้ รักษาโดยใช้เครื่องมือและหัตถการต่างๆ ของวิชาชีพกายภาพบำบัด การไปพบนักกายภาพบำบัดมักทำได้โดยไม่ต้องรอให้แพทย์เป็นผู้ระบุว่าจำเป็นต้องใช้การกายภาพบำบัด แต่หากมีอาการป่วยรุนแรง หรือได้รับบาดเจ็บหนัก กายภาพบำบัดอาจะไม่ใช่ทางเลือกในการรักษา

    ใครบ้างที่ควรกายภาพบำบัด

    นักกายภาพบำบัด มีความชำนาญในการให้บริการทั้งในผู้ป่วยระบบประสาทและกระดูกกล้ามเนื้อ โดยการตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย โดยใช้หลักการของการเคลื่อนไหว กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และทฤษฎีต่างๆ ที่ผสมผสาน เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย ได้แก่

    • การแนะนำการออกกำลังกาย
    • การออกกำลังกายโดยใช้ธาราบำบัด
    • การดัดดึงข้อต่อด้วยเทคนิคต่างๆ
    • การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน
    • การฝึกเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ และความมั่นคงในการทรงท่า
    • การฝึกทักษะการใช้รถวีลแชร์ในห้องจำลองสถานการณ์ต่างๆ
    • การฝึกทักษะการเดินในสถานการณ์ต่างๆ

    ซึ่งผู้ที่ต้องได้รับการกายภาพบำบัดจะมีอาการดังต่อไปนี้

    • ผู้ที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดเข่า ปวดขา ปวดข้อเท้า
    • ผู้ที่เริ่มมีอาการชาลงแขน และชาลงขา
    • ผู้ที่มีลักษณะการเดินที่เผิดปกติ เช่น เดินตัวเอียง เดินลากเท้า ยกแขนขาได้ไม่สุด งอเหยียดเข่าไม่ได้ เป็นรองช้ำ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด นิ้วล็อค
    • ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา
    • ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองและผ่าตัดข้อเสื่อม เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มขยับตัวลำบากและเริ่มลุกนั่งไม่ได้
    • ผู้ที่เป็น ออฟฟิศซินโดรม นั่งทำงานนาน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

    กายภาพบำบัด มีกี่ประเภท

    กายภาพบำบัดสามารถแบ่งสาขาได้ดังนี้

    1. กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (orthopedic)

    2. กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท(Neurological)

    3. กายภาพบำบัดหลอดเลือดและหัวใจ(Cardiopulmonary)

    4. กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็ก(Pediatric)

    5. กายภาพบำบัดผู้สูงวัย(Geriatric)

    อุปกรณ์ช่วยในการกายภาพบำบัด

    กายภาพบำบัดมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำกายภาพ ดังนี้

    1. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulator) เป็นการกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดฟังก์ชันช่วยคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นและชั้นลึกได้

    2. เครื่องคลื่นอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound therapy) เป็นคลื่นเหนือเสียงที่มีความถี่อาศัยคลื่นสั่นสะเทือนลงชั้นกล้ามเนื้อได้ 3-5เซนติเมตรทำให้กล้ามเนื้อที่เป็นลำเป็นก้อนเกร็งคลายตัวออกและนิ่มลง ลดปวด ลดบวม เพิ่มการไหลเวียนเลือดและอาการในเซลล์กล้ามเนื้อ

    3. เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy) เป็นเลเซอร์ที่มีความถี่สูง ปล่อยพลังงาความถี่สูงช่วยลดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน เร่งซ่อมสร้างเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ

    4. เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave Therapy) เป็นคลื่นกระแทกที่กระตุ้นให้พังผืดได้รับการบาดเจ็บเพื่อให้ร่างกายสร้างเซลล์กล้ามเนื้อใหม่ทำให้สลายพังผืดและทำให้ชั้นกล้ามเนื้อคลายตัวลง

    5. เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Stimulator) เป็นการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กให้เกิดการกระตุ้นของระบบเส้นประสาทในกล้ามเนื้อให้เกิดการทำงานตามฟังก์ชันของกล้ามเนื้อนั้นๆ กระตุ้นการคลายกล้ามเนื้อชั้นลึกที่ปวดจากการรัดเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท

    6. เครื่องดีงหลังดึงคอ (Pelvic/Cervical Traction) เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อคอและหลัง กรณีมีภาวะการทรุดตัวของกระดูกสันหลังจะเพิ่มช่องว่างของกระดูกสันหลัง ลดการกดทับของเส้นประสาท

    7. ฝังเข็ม (dry needling) การฝังเข็มคลายจุดบริเวณที่กล้ามเนื้อ เป็นการฝังเข็มเฉพาะที่ คลายกล้ามเนื้อที่เป็นปม หดเกร็งเป็นก้อนๆ ช่วงลดอาการปวดที่สาเหตุเกิดการการเกร็ง การหดตัวของกล้ามเนื้อ

    นอกจากใช้เครื่องมือแล้ว ยังมีเทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual therapy) อีกด้วย

    • Deep friction การกดแรงลงไปตรงจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อเพื่อขยายคลายก้อนกล้ามเนื้อกระต้นให้เกิดการไหลเวียน
    • Mobilization การตึงขยับข้อต่อ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะข้อติดแข็ง เช่น โรคข้อไหล่ติด นักกายภาพบบำบัดจะพิจารณาการติดของข้อตรวจกระดูกและกล้ามเนื้อเกี่ยวพันบริเวณที่ดัด ขยับ ดึงให้ยืดหยุ่นและกลับเข้าที่ เพิ่มการเคลื่อนไหวมากขึ้น
    • Exercise Therapy เป็นการออกแบบท่าออกกำลังกายของแต่ละบุคคลโดยการบริหารการยืดกล้ามเนื้อเพื่อปรับสมดุลเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อป้องกันการบาดเจ็บและการเกร็งตัวของกล้ามนื้อซ้ำอีก

    กายภาพบำบัด

    ประโยชน์ของการกายภาพบำบัด

    ประโยชน์ของการกายภาพบำบัด มีดังนี้

    1. ลดปวดโดยไม่ต้องใช้ยา
    2. แก้ไขความบกพร่องของร่างกาย
    3. หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
    4. กษาได้ตรงจุดปวด
    5. ป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนแรง
    6. คืนความยืดหยุ่นและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ
    7. ปรับสมดุลของร่างกายแบบยั่งยืน

    ขั้นตอนการทำกายภาพบำบัด

    ขั้นตอนการรักษาทางกายภาพบำบัดจะมีการตรวจประเมินร่างกาย การตรวจโครงสร้างสรีระของร่างกาย หาต้นตอ สาเหตุและวิเคราะห์อาการปวดรวมถึงระยะของโรค และวางแผนการรักษา การตรวจประเมินร่างกายนักกายภาพบำบัดมักพบความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายที่มีความสัมพันธ์กัน

    โดยเฉพาะอาชีพมักมีการใช้งานซ้ำๆ บ่อยๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอ บ่า มักพบว่ามีไหล่ห่อ คอยื่นและกระดูกสันหลังโค้งร่วมด้วย หากจำเป็นนักกายภาพบำบัดอาจจะต้องใช้ผลX-RAY หรือMRI ประกอบการรักษาด้วย

    บทสรุป

    เนื่องจากการทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาฟื้นฟูโดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ได้ใช้ยา จึงเป็นการรักษาที่ไม่ได้รับผลข้างเคียง และเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การทำกายภาพบำบัดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เหมาะแก่การรักษาและการฟื้นฟูเป็นอย่างยิ่ง

     

    เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

     

    ที่มาของบทความ

     

    ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ worldwaterconservation.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • ทำความรู้จักกับ เขตการค้าเสรี
    ทำความรู้จักกับ เขตการค้าเสรี

    Free Trade Area หรือ เขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร.

    เขตการค้าเสรี (FTA) คือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่าง ๆ เพื่อให้มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกัน ในอัตราที่น้อยที่สุด หรือ ในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งประเทศที่มีการรวมกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้น จะได้เปรียบทางการค้ามากกว่า ประเทศที่อยู่นอกกลุ่มในเรื่องของอัตราภาษี โดยการเปิดเสรีทางการค้านั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะด้านสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านบริการ และการลงทุนด้วย เช่น เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เป็นต้น.

    เขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) อาจดูเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว FTA เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแล้ว โดย FTA ฉบับแรกที่ไทยจัดทำคือข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรือที่เรียกว่า AFTA ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2535 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะอยู่คู่สังคมไทยมานานกว่าทศวรรษ FTA ก็ยังคงเป็นเสมือนกล่องปริศนาสำหรับหลายคน จึงขอให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ FTA เพื่อให้ทุกคนได้รู้จัก เข้าใจ และสามารถใช้ประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มที่

    เขตการค้าเสรี (FTA) คืออะไร?

    FTA เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะลดอุปสรรคทางการค้า ระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างกัน และปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ก็ได้ขยายขอบเขตของ FTA ให้ครอบคลุมการค้าด้านบริการ อาทิ บริการท่องเที่ยว การรักษา พยาบาล การสื่อสาร การขนส่ง ฯลฯ พร้อมกับความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วย

    วัตถุประสงค์ของ FTA

    FTA สะท้อนแนวคิดสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า “ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นสูงสุดเมื่อประเทศต่างๆ ผลิตสินค้าที่ตนมีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุดเมื่อเปรียบ เทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วนำสินค้าเหล่านั้นมาค้าขายแลกเปลี่ยนกัน” ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ประโยชน์สูงสุดดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น หากยังมีการเก็บภาษีขาเข้าและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ซึ่งส่งผลบิดเบือนราคาที่แท้จริงของสินค้า และทำให้การค้าขายไม่เป็นไปอย่างเสรีและมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ FTA ถือเป็นเครื่องมือทางการค้าสำคัญที่ประเทศต่างๆ สามารถใช้เพื่อขยายโอกาสในการค้า สร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจ พร้อมๆ กับเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาให้แก่สินค้าของตน เนื่องจากสินค้าที่ผลิตใน FTA จะถูกเก็บภาษีขาเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิก FTA จึงทำให้สินค้าที่ผลิตภายในกลุ่มได้ เปรียบในด้านราคากว่าสินค้าจากประเทศนอกกลุ่ม

    ความเป็นมาของ เขตการค้าเสรี

    แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยน กับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)

    นโยบายการค้าเสรี

    • การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
    • ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
    • ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
    • เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ

    เขตการค้าเสรี 2

    ลักษณะสำคัญของ FTA

    FTA จะมีรูปแบบเป็นอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเทศคู่สัญญา FTA จะตกลงกัน ไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดตายตัวว่า FTA จะต้องมีลักษณะอย่างไร แต่ถึงกระนั้นก็ดี ทุก FTA จะมีลักษณะพื้นฐานที่เหมือนกันอยู่ 3 ประการ คือ

    • มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า และไม่สร้างอุปสรรคทางการค้าเพิ่มต่อประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิก (No fortress effects)
    • ครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศมากพอ (Substantial coverage) ซึ่งเป็นกติกาที่ WTO กำหนดไว้เพื่อปกป้องและป้องกันผลกระทบของ FTA ที่จะมีต่อประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกของ FTA นั้นๆ
    • มีตารางการลดภาษีหรือเปิดเสรีที่ประเทศคู่สัญญา FTA เจรจากันว่าจะลดภาษีให้แก่กันในสินค้าใดบ้าง จะลดอย่างไร และจะใช้ระยะเวลายาวนานเท่าไรในการลดหลักเกณฑ์ในการทำ FTA ของไทย

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    ตลาดหุ้นเอเชียปิดเช้าผสมผสาน นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจ

    บีโอไอ ตั้งเป้าต่างชาติลงทุน 2 ล้านล้านบาท

    WAX CPU เกิน 100% แก้ปัญหาได้ง่ายๆด้วย Getwaxcpu.com

    Everything You Wanted to Know About mega city’s

    สามารถติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://worldwaterconservation.com/

    สนับสนุนโดย  ufabet369

    ที่มา ecs-support.github.io