กายภาพบำบัด มีหลายคนที่อาจจะเคยได้ยินคำนี้แต่ไม่รู้ว่าความหมายคืออะไร หรือคนอาจจะรู้จักว่าการทำการภาพบำบัดเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ แต่จริงๆ แล้ว การทำกายภาพบำบัดเหมาะสมกับทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุ เพราะนอกจากการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์–อัมพาต หรือนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บ ยังสามารถรักษาคนทั่วไปได้ด้วย ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ใช้ฟื้นฟูดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จะมาพูดถึงความหมายของกายภาพบำบัด ประเภท ประโยชน์ และขั้นตอนการทำกายภาพบำบัด
กายภาพบำบัด คืออะไร
กายภาพบำบัด (Physical Therapy : PT) เป็นศาสตร์ที่ใช้ในการฟื้นฟู เป็นการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ กายภาพบำบัดจะไม่เน้นการรับประทานยา หรือผ่าตัด แต่เน้นการบัดบำฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการออกกำลังกาย หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมสำหรับอาการนั้นๆ โดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ กายภาพบำบัดเป็นวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของร่างกายมนุษย์ที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงชีวิต ซึ่งมีหลายวิธี เช่น อัลตราซาวด์ เลเซอร์ ประคบร้อน ประคบเย็น ธาราบำบัด การนวด หรือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
นักกายภาพบำบัดจะมีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพ เพื่อทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดตามสถานที่ต่างๆ ได้ รักษาโดยใช้เครื่องมือและหัตถการต่างๆ ของวิชาชีพกายภาพบำบัด การไปพบนักกายภาพบำบัดมักทำได้โดยไม่ต้องรอให้แพทย์เป็นผู้ระบุว่าจำเป็นต้องใช้การกายภาพบำบัด แต่หากมีอาการป่วยรุนแรง หรือได้รับบาดเจ็บหนัก กายภาพบำบัดอาจะไม่ใช่ทางเลือกในการรักษา
ใครบ้างที่ควรกายภาพบำบัด
นักกายภาพบำบัด มีความชำนาญในการให้บริการทั้งในผู้ป่วยระบบประสาทและกระดูกกล้ามเนื้อ โดยการตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย โดยใช้หลักการของการเคลื่อนไหว กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และทฤษฎีต่างๆ ที่ผสมผสาน เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย ได้แก่
- การแนะนำการออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายโดยใช้ธาราบำบัด
- การดัดดึงข้อต่อด้วยเทคนิคต่างๆ
- การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน
- การฝึกเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ และความมั่นคงในการทรงท่า
- การฝึกทักษะการใช้รถวีลแชร์ในห้องจำลองสถานการณ์ต่างๆ
- การฝึกทักษะการเดินในสถานการณ์ต่างๆ
ซึ่งผู้ที่ต้องได้รับการกายภาพบำบัดจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ผู้ที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดเข่า ปวดขา ปวดข้อเท้า
- ผู้ที่เริ่มมีอาการชาลงแขน และชาลงขา
- ผู้ที่มีลักษณะการเดินที่เผิดปกติ เช่น เดินตัวเอียง เดินลากเท้า ยกแขนขาได้ไม่สุด งอเหยียดเข่าไม่ได้ เป็นรองช้ำ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด นิ้วล็อค
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา
- ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองและผ่าตัดข้อเสื่อม เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มขยับตัวลำบากและเริ่มลุกนั่งไม่ได้
- ผู้ที่เป็น ออฟฟิศซินโดรม นั่งทำงานนาน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
กายภาพบำบัด มีกี่ประเภท
กายภาพบำบัดสามารถแบ่งสาขาได้ดังนี้
-
กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (orthopedic)
-
กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท(Neurological)
-
กายภาพบำบัดหลอดเลือดและหัวใจ(Cardiopulmonary)
-
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็ก(Pediatric)
-
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย(Geriatric)
อุปกรณ์ช่วยในการกายภาพบำบัด
กายภาพบำบัดมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำกายภาพ ดังนี้
-
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulator) เป็นการกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดฟังก์ชันช่วยคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นและชั้นลึกได้
-
เครื่องคลื่นอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound therapy) เป็นคลื่นเหนือเสียงที่มีความถี่อาศัยคลื่นสั่นสะเทือนลงชั้นกล้ามเนื้อได้ 3-5เซนติเมตรทำให้กล้ามเนื้อที่เป็นลำเป็นก้อนเกร็งคลายตัวออกและนิ่มลง ลดปวด ลดบวม เพิ่มการไหลเวียนเลือดและอาการในเซลล์กล้ามเนื้อ
-
เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy) เป็นเลเซอร์ที่มีความถี่สูง ปล่อยพลังงาความถี่สูงช่วยลดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน เร่งซ่อมสร้างเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ
-
เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave Therapy) เป็นคลื่นกระแทกที่กระตุ้นให้พังผืดได้รับการบาดเจ็บเพื่อให้ร่างกายสร้างเซลล์กล้ามเนื้อใหม่ทำให้สลายพังผืดและทำให้ชั้นกล้ามเนื้อคลายตัวลง
-
เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Stimulator) เป็นการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กให้เกิดการกระตุ้นของระบบเส้นประสาทในกล้ามเนื้อให้เกิดการทำงานตามฟังก์ชันของกล้ามเนื้อนั้นๆ กระตุ้นการคลายกล้ามเนื้อชั้นลึกที่ปวดจากการรัดเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
-
เครื่องดีงหลังดึงคอ (Pelvic/Cervical Traction) เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อคอและหลัง กรณีมีภาวะการทรุดตัวของกระดูกสันหลังจะเพิ่มช่องว่างของกระดูกสันหลัง ลดการกดทับของเส้นประสาท
-
ฝังเข็ม (dry needling) การฝังเข็มคลายจุดบริเวณที่กล้ามเนื้อ เป็นการฝังเข็มเฉพาะที่ คลายกล้ามเนื้อที่เป็นปม หดเกร็งเป็นก้อนๆ ช่วงลดอาการปวดที่สาเหตุเกิดการการเกร็ง การหดตัวของกล้ามเนื้อ
นอกจากใช้เครื่องมือแล้ว ยังมีเทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual therapy) อีกด้วย
- Deep friction การกดแรงลงไปตรงจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อเพื่อขยายคลายก้อนกล้ามเนื้อกระต้นให้เกิดการไหลเวียน
- Mobilization การตึงขยับข้อต่อ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะข้อติดแข็ง เช่น โรคข้อไหล่ติด นักกายภาพบบำบัดจะพิจารณาการติดของข้อตรวจกระดูกและกล้ามเนื้อเกี่ยวพันบริเวณที่ดัด ขยับ ดึงให้ยืดหยุ่นและกลับเข้าที่ เพิ่มการเคลื่อนไหวมากขึ้น
- Exercise Therapy เป็นการออกแบบท่าออกกำลังกายของแต่ละบุคคลโดยการบริหารการยืดกล้ามเนื้อเพื่อปรับสมดุลเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อป้องกันการบาดเจ็บและการเกร็งตัวของกล้ามนื้อซ้ำอีก
ประโยชน์ของการกายภาพบำบัด
ประโยชน์ของการกายภาพบำบัด มีดังนี้
- ลดปวดโดยไม่ต้องใช้ยา
- แก้ไขความบกพร่องของร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
- กษาได้ตรงจุดปวด
- ป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนแรง
- คืนความยืดหยุ่นและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ
- ปรับสมดุลของร่างกายแบบยั่งยืน
ขั้นตอนการทำกายภาพบำบัด
ขั้นตอนการรักษาทางกายภาพบำบัดจะมีการตรวจประเมินร่างกาย การตรวจโครงสร้างสรีระของร่างกาย หาต้นตอ สาเหตุและวิเคราะห์อาการปวดรวมถึงระยะของโรค และวางแผนการรักษา การตรวจประเมินร่างกายนักกายภาพบำบัดมักพบความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายที่มีความสัมพันธ์กัน
โดยเฉพาะอาชีพมักมีการใช้งานซ้ำๆ บ่อยๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอ บ่า มักพบว่ามีไหล่ห่อ คอยื่นและกระดูกสันหลังโค้งร่วมด้วย หากจำเป็นนักกายภาพบำบัดอาจจะต้องใช้ผลX-RAY หรือMRI ประกอบการรักษาด้วย
บทสรุป
เนื่องจากการทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาฟื้นฟูโดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ได้ใช้ยา จึงเป็นการรักษาที่ไม่ได้รับผลข้างเคียง และเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การทำกายภาพบำบัดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เหมาะแก่การรักษาและการฟื้นฟูเป็นอย่างยิ่ง
เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- หลังค่อม มีสาเหตุมาจากอะไร และสามารถรักษาหายหรือไม่
- โรคงูสวัด มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร
- คีโม สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
- การฉายแสง ต้องเตรียมตัวก่อนและหลังการรักษาอย่างไรบ้าง
- สิว บริเวณที่เป็นสิวสามารถบอกโรคอะไรได้บ้าง
- รักษาสิว ด้วยวิธีไหนได้ผลที่สุด
ที่มาของบทความ
- https://www.sarirarak.com
- https://kinrehab.com
- https://bkktherapyclinic.com
- https://www.bangkruaihospital.go.th
ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ worldwaterconservation.com
สนับสนุนโดย ufabet369