การอดทนกับเด็กๆ ไม่มีพ่อแม่คนไหนสะกดกลั้นอารมณ์ได้ตลอดทุกครั้งที่อยู่กับลูก ทุกคนเคยหลุดกันมาถ้วนหน้า ไม่มีใครได้รับการยกเว้นแม้แต่คนเดียว ถ้าจะมีใครสักคนที่ไม่เป็นอย่างที่ว่านี้ มีเหตุผลอยู่แค่ 2 อย่าง อย่างแรก พวกเขาเป็นพ่อแม่ที่ใช้เวลากับลูกน้อยเกินไป อย่างหลังคือ พวกเขาแค่เก็บอารมณ์แย่ๆ จากลูกไว้ เพื่อไประเบิดใส่คนอื่นต่อ

การอดทนกับเด็กๆ ต้องทำอย่างไร

การอดทนกับเด็กๆ ไม่ว่าการจะทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ ดูแล อบรมสั่งสอน หรือทำงานอาสาสมัครร่วมกับเด็กๆ ทุกคนย่อมถึงจุดที่หมดความอดทนกันบ้าง แต่การหมดความอดทนกับเด็กๆ นั้นทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับเด็กและยังเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีอีกด้วย การเรียนรู้ที่จะปล่อยผ่านแม้จะเจอความยุ่งยาก ความหงุดหงิด และความผิดพลาดที่เลี่ยงไม่ได้เป็นทักษะสำคัญที่ต้องมีเมื่อคุณต้องดูแลหรืออยู่กับเด็กๆ

รับมือกับการหมดความอดทนในช่วงเวลานั้น

1. การอดทนกับเด็กๆ ให้หายใจลึกๆ หายใจเข้าและออกลึกๆ เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายผ่อนคลายและทำให้จิตใจสงบลงอีกครั้งถ้าคุณรู้สึกหงุดหงิดและตึงเครียด วิธีนี้ยังทำให้คุณมีช่วงเวลาที่จะประเมินสถานการณ์และวิธีการที่จะตอบโต้มากขึ้นด้วย

  • ฝึกสมาธิเป็นประจำเพื่อเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์และทำให้ใจสงบเมื่อจำเป็น
  • ลองหายใจเข้า 5 วินาที ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหายใจออก 5 วินาที จังหวะนี้เป็นจังหวะมาตรฐานทั่วไป แต่ลองทำดูเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาเท่าไหร่ที่เหมาะกับคุณมากที่สุด

2. ถอยห่างจากช่วงเวลานั้นถ้าทำได้ การถอยห่างจากสถานการณ์ทำให้คุณสามารถเอาตัวเองออกมาจากสถานการณ์นั้นๆ ได้ถ้าคุณกลัวว่าการตอบโต้แบบทันทีจะแสดงถึงความไม่อดทน วิธีนี้จะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองมีเหตุผลมากขึ้นและพร้อมที่จะกลับไปเผชิญกับช่วงเวลาต่อๆ ไป

  • เวลาที่คุณถอยห่างออกมา ลองนับถึง 10 ช้าๆ หรือหายใจลึกๆ เพื่อช่วยให้คุณสามารถกลับไปได้เร็วขึ้น
  • คุณสามารถระเบิดความคับข้องใจต่างๆ ใส่หมอนได้เมื่อคุณถอยห่างออกมาแล้ว
  • ยังคงดูแลความปลอดภัยของเด็กๆ แม้ว่าคุณจะต้องถอยออกมาก็ตาม ใช้กล้องดูเด็กหรือขอให้ผู้ใหญ่คนอื่นมาช่วยดูเด็กๆ ให้

3. พูดสิ่งที่คุณอยากจะพูดออกมาเป็นเพลง การร้องเพลงทำให้คุณหมดความอดทนหรือโมโหได้ยาก เพราะมันจะทำให้สถานการณ์เบาบางลงด้วยเสียงหัวเราะแทน คุณยังพูดในสิ่งที่อยากพูดได้เหมือนเดิม แต่วิธีการสื่อสารนั้นดีกว่า และคุณก็จะไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองปรี๊ดแตกขนาดนั้น

  • การร้องเพลงยังอาจทำให้เด็กๆ รู้สึกแปลกใจ ซึ่งจะทำให้พวกเขาตั้งใจฟังสิ่งที่คุณพูดมากขึ้น

4. พูดให้เด็กๆ เข้าใจ พยายามนึกถึงความสัมพันธ์และความเข้าใจเป็นหลัก อย่าแสดงท่าทีสั่งสอน และพยายามไตร่ตรองแทนที่จะตอบโต้

  • รับฟังขณะที่เด็กพูด และพูดคุยกับเขาแทนที่จะบอกเขา
  • การพูดแค่ว่า “ลูก พ่อจะหมดความอดทนแล้วนะ” ก็ช่วยได้ เพราะมันเป็นการสื่อสารกับเด็กๆ อย่างตรงไปตรงมาว่าคุณรู้สึกอย่างไร และให้พวกเขาตอบสนองความรู้สึกนั้น

5. การอดทนกับเด็กๆ ให้ท่องคำพูดเตือนใจ การพูดวนไปวนมาที่เป็นลักษณะของคำพูดเตือนใจนั้นช่วยปลอบโยนและทำให้รู้สึกสงบ ซึ่งมีประโยชน์ในสถานการณ์ที่คุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะปรี๊ดแตกอย่างแน่นอน นอกจากนี้คำพูดเตือนสติยังช่วยให้คุณปรับมุมมองที่มีต่อสถานการณ์ได้ด้วย

  • ถ้าต้องการกระตุ้นความอดทนอดกลั้น ลองท่องว่า “เดี๋ยวมันก็ผ่านไป และฉันจะผ่านมันไปได้”
  • ในการปรับมุมมอง ลองท่องว่า “ฉันรักลูกๆ ของฉันมากกว่า…” แล้วเติมอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เช่น จาน กำแพง หรือสวนลงไป

6. สมมุติว่าตัวเองเป็นเด็ก ประเมินสถานการณ์จากมุมมองของเด็กสักครู่ วิธีนี้จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจได้ว่าเจตนาของพวกเขาคืออะไร และต้องตอบสนองอย่างไรพวกเขาจึงจะเข้าใจ

  • ยิ่งคุณฝึกทำวิธีนี้มากเท่าไหร่ ในอนาคตคุณก็จะยิ่งเข้าใจมุมมองของเด็กมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณจะปรี๊ดแตกน้อยลงในวันข้างหน้า

จัดการ การอดทนกับเด็กๆ ในระยะยาว

1. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก พิจารณาพฤติกรรม คำพูด และปฏิกิริยาของคุณที่มีต่อสถานการณ์ที่ทำให้คุณอดทนแทบไม่ไหว การตอบสนองทุกอย่างจะเป็นแบบอย่างให้กับพฤติกรรมของพวกเขาไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม

  • เช่น การตะโกนใส่เด็กว่าให้เลิกตะโกนสักทีนั้นใช้กับเด็กๆ ไม่ได้ และยิ่งเป็นการส่งเสริมความคิดที่ว่า วิธีรับมือกับการปรี๊ดแตกที่ดีที่สุดคือการปรี๊ดแตกให้มากกว่า
  • แม้ว่าการเป็นแบบอย่างที่ดีตลอดเวลาจะเป็นเรื่องยาก และคุณก็อาจจะรู้ว่าตัวเองเป็นแบบอย่างเรื่องความอดทนในสถานการณ์แบบนี้มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่จำไว้ว่าแม้ว่าเด็กๆ จะไม่สมควรได้รับความอดทนจากคุณมากกว่านี้อีกแล้ว แต่คุณก็จำเป็นต้องให้สิ่งนั้นกับพวกเขาอยู่ดี

2. สื่อสารอารมณ์ลึกๆ ข้างในที่มีต่อผู้อื่นและสถานการณ์อื่นๆ การหมดความอดทนเกิดจากอารมณ์อื่นๆ ที่เดือดอยู่ข้างในและยังไม่ได้จัดการ พูดออกมาและสื่อสารให้ชัดเจน ปัญหาภายนอกจะได้ไม่ทำให้คุณหมดความอดทนกับเด็กๆ

  • ถ้าคุณยังไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ในทันที ให้เขียนแผนปฏิบัติการลงในกระดาษและกลับมาอ่านอีกครั้งทันทีที่มีโอกาส

3. ฝึกนิสัยสร้างความอดทนในชีวิตประจำวัน มีหลายสิ่งในชีวิตที่คุณสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ ซึ่งจะช่วยสร้างความอดทนให้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและช่วยให้คุณใจเย็นลงได้ การดูแลตัวเองและวิถีชีวิตที่สะท้อนถึงการดูแลตัวเองจะช่วยสร้างแนวคิดที่ดีต่อสุขภาพและเสริมสร้างความอดทน

  • นอนหลับอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง การนอนสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ ซึ่งรวมไปถึงความอดทนด้วย การนอนดึกจะปล้นพลังงาน ความร่าเริง และความอดทนของวันพรุ่งนี้ไป
  • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ภาวะร่างกายขาดน้ำไม่เคยทำให้อารมณ์ที่ดิ่งลงอยู่แล้วดีขึ้น แต่การดื่มน้ำจะช่วยให้สมองของคุณปลอดโปร่งและรู้สึกกระฉับกระเฉง
  • วางแผนล่วงหน้าเสมอ วางแผนเผื่อเกิดเหตุการณ์ที่แย่ที่สุดสำหรับงานและวันที่ตึงเครียด และเขียนออกมาเป็นรายการเพื่อให้คุณรู้สึกพร้อมที่จะลุยกับทุกสิ่งที่รออยู่

4. เป็นตัวอย่างของความอดทนในทุกด้านของชีวิต ถ้าความอดทนเป็นส่วนหนึ่งของทุกๆ ด้านในชีวิต การสร้างความอดทนต่อเด็กๆ ก็จะง่ายขึ้น และเมื่อความอดทนกลายเป็นสิ่งที่กลมกลืนกับชีวิตของคุณไปแล้ว คุณก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ ได้ง่ายขึ้น

  • ฝึกความอดทนในที่ทำงานหากการพูดคุยกับเจ้านายหรือเพื่อร่วมงานทำให้ความอดทนของคุณต่ำลง หายใจลึกๆ และสื่อสารความรู้สึกของตัวเองให้ชัดเจน
  • พยายามสร้างความอดทนต่อคนรักและครอบครัวด้วยเช่นกัน เริ่มจากการพูดถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่เพื่อให้ทุกคนอดทนกันและกันได้มากขึ้น

การอดทนกับเด็กๆ

ปลูกฝังทักษะที่มีประโยชน์ให้แก่เด็ก

1. ช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องการควบคุมตัวเองและการอดทนรอคอย โดยธรรมชาติเด็กๆ ไม่อดทนอยู่แล้ว ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้คุณหมดความอดทนไปด้วย และเป็นวงจรแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ การปลูกฝังเด็กเรื่องการควบคุมตัวเองและการอดทนรอคอยเป็นวิธีที่ดีในการสร้างค่านิยมเรื่องความอดทน

  • การนำสิ่งเร้าออกไปเป็นวิธีที่ดีในการเสริมสร้างความอดทน การซ่อนสิ่งที่เย้ายวนใจจะทำให้เด็กอดทนได้มากขึ้นเพราะพวกเขาไม่เห็นว่าตัวเองอยากได้อะไร การนำสิ่งนั้นออกไปให้พ้นหูพ้นตาจะทำให้เด็กๆ ลืมนึกถึงมันได้อย่างแน่นอน
  • ใช้การเบี่ยงเบนความสนใจเชิงบวกเพื่อไม่ให้พวกเขาเริ่มหมดความอดทน ลองให้พวกเขาร้องเพลงหรือให้เล่นสปริงของเล่นเพื่อให้พวกเขาได้จดจ่อกับบางสิ่งบางอย่างและฝึกการรอคอยอย่างอดทน
  • สงบสติอารมณ์แม้ว่าลูกจะอาละวาด

2. กำหนดกฎระเบียบและขอบเขต วิธีนี้จะช่วยให้ความคาดหวังของคุณชัดเจนและเสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งจะทำให้เกิดสถานการณ์ที่มาทดสอบความอดทนของเด็กๆ น้อยลงในอนาคต กฎระเบียบและขอบเขตทำให้เด็กๆ มีสิ่งที่เป็นโครงสร้างมั่นคงให้พวกเขายึดเป็นหลักได้

  • การกำหนดกฎระเบียบและขอบเขตเป็นเรื่องของสอนให้เด็กๆ รู้ว่าอะไรที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะว่ามันจะกลายเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องพยายามและทำตามให้ได้

3. ขอโทษเมื่อถึงเวลา แม้ว่าการฝึกฝนและการพยายามสร้างความอดทนจะเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ถึงอย่างไรคุณก็เป็นมนุษย์และต้องทำผิดพลาดบ้างเป็นครั้งคราว คุณอาจจะเผลอหลุด แต่การขอโทษเด็กๆ และพยายามกลับไปอดทนเหมือนเดิมจะทำให้สถานการณ์นั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น

  • การขอโทษจะทำให้เด็กๆ รู้ว่า คุณเข้าใจว่าตัวเองรับมือกับสถานการณ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และคุณจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป วิธีนี้เป็นการสร้างแบบอย่างที่ดีในการขอโทษเมื่อคุณทำผิดต่อพวกเขา ซึ่งจะทำให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะทำสิ่งนั้นเช่นเดียวกัน

เคล็ดลับการอดทนกับเด็กๆ

  • ความอดทนอีกประเภทหนึ่งที่หาได้ยากก็คือการอดทนกับเด็กๆ ที่ดื้อรั้นสุดๆ ในกรณีนี้เคล็ดลับส่วนหนึ่งก็คือการมีอารมณ์ขันที่ไม่เกี่ยวกับเด็กแต่เป็นเรื่องของสถานการณ์ หาสิ่งตลกขบขัน สนุก และมีความสุขเพื่อดึงดูดให้เด็กๆ ออกจากความดื้อรันของตัวเองและมาสนใจสิ่งที่คุณทำอยู่แทน
  • บางครั้งความอดทนอย่างลึกซึ้งก็จำเป็นหากเด็กผ่านความเจ็บปวดมาอย่างสาหัส คนที่รับเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมหรืออุปการะเด็กที่ผ่านความยากลำบากหรือความหวาดกลัว เช่น การใช้ชีวิตในช่วงสงคราม การขาดแคลนอาหาร หรือความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ มักยืนยันว่า คุณจำเป็นที่จะต้องรอคอยอย่างอดทนในระหว่างที่เด็กกำลังเรียนรู้ที่จะกลับมาไว้ใจอีกครั้งและออกมาจากดักแด้ของความปลอดภัยที่เด็กได้พันตัวเองเอาไว้ เมื่อเขากลับมาตระหนักได้อีกครั้งว่ามีคนห่วงใยและเคารพเขา ความอดทนประเภทนี้ต้องอาศัยความอดกลั้นรูปแบบพิเศษ แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากหากเด็กต้องเรียนรู้ที่จะกลับมาไว้ใจอีกครั้ง
  • ถ้าความใจร้อนมีผลต่อชีวิตและส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ คุณอาจจะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำความเข้าใจว่าทำไมจึงเป็นแบบนี้ เพราะแก่นแท้ของอารมณ์ร้อนที่รุนแรงอาจเป็นปัญหาด้านจิตใจที่สามารถจัดการได้หากได้รับการช่วยเหลือและการส่งเสริมที่ถูกต้อง

เมื่อลูกโมโหร้ายควรทำอย่างไร

  • อย่าสอนตอนลูกกำลังโกรธ

เพราะเวลาที่คนเราโกรธ มักจะไม่ยอมฟังอะไรทั้งสิ้น (ผู้ใหญ่หลายคนก็เป็นอย่างนี้) ดังนั้น หากลูกลงไปนอนดิ้นกับพื้น คุณแม่ควรปล่อยให้เขาแสดงความโกรธสักพักหนึ่งโดยยังไม่ต้องทำอะไร แต่หากเขาทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนอื่นหรือพยายามที่จะทำลายข้าวของให้เสียหาย คุณแม่ควรล็อกตัวไม่ให้เขาทำและบอกด้วยเสียงนุ่มนวลแต่หนักแน่นว่า “หนูโกรธได้ค่ะ แต่ว่าหนูทำแบบนี้ (ระบุการกระทำไปเลยค่ะ) ไม่ได้นะคะ” โดยอาจจะให้คุณพ่อหรือคนอื่นๆ มาช่วยก็ได้ ถ้าหากเขาอารมณ์สงบลงแล้วก็ให้ทำตามข้อต่อไป

  • บอกลูกว่าขณะนี้เขากำลังรู้สึกอย่างไร

อย่างที่บอกว่าคนเราเวลาโกรธมักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้น การบอกลูกว่า “หนูโกรธใช่ไหมลูก ดูท่าทางหนูจะโกรธมากเลยนะเนี่ย” เป็นการเตือนให้เด็กรู้ว่าขณะนี้เขากำลังโกรธ และหากเรากำลังจะจัดการความโกรธ เขาก็ต้องรู้ตัวก่อนว่าเขากำลังโกรธอยู่

  • สอนว่าหากโกรธควรทำอย่างไร

วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการความโกรธคือการพูดเพราะฉะนั้น คุณแม่ควรบอกเขาว่า “ต่อไปนี้ถ้าโกรธ ให้มาบอกแม่ว่า… นะ” ที่ เว้นว่างไว้เพื่อให้คุณแม่เติมข้อความที่เหมาะสม ซึ่งสาเหตุที่คุณแม่ควรจะหาคำพูดมาให้เขาด้วย เพราะว่ามีเด็กหลายคนที่ยังไม่สามารถคิดคำพูดได้ ดังนั้น หากคุณแม่บอกเขาเพียง ถ้าโกรธแล้วให้มาบอกแม่เขาอาจจะงงก็ได้ค่ะว่าจะให้บอกว่าอะไ

สิ่งสำคัญมากอีกข้อหนึ่ง คือ พฤติกรรมที่น่าปวดหัวเหล่านี้ ถ้าหากว่าเขาทำแล้ว มีสมาชิกในบ้านบางคนยอมตามเขาหรือหันมาตามใจเขา เด็กก็มักจะยิ่งทำต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นคุณแม่ควรบอกทุกคนในบ้านว่าห้ามตามใจเด็ก และควรให้คำชมทุกครั้งที่เขาสามารถมาบอกเราได้เวลาที่เขาโกรธหรือไม่พอใจ เรื่องอะไร ส่วน การตีหรือดุซ้ำในเวลาที่ลูกกำลังโกรธนั้น ก็เหมือนการราดน้ำมันลงบนกองไฟ นอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้เรื่องราวบานปลาย คือเด็กจะยิ่งโกรธมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าไม่มีคนเข้าใจ ดังนั้น พยายามเลี่ยงการตีหรือดุในเวลาที่เด็กกำลังโกรธ

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  worldwaterconservation.com

สนับสนุนโดย  ufabet369